Please use this identifier to cite or link to this item: http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/10079
Title: การพัฒนาแบบจำลองสำหรับสืบค้นการใช้สมุนไพรโดยใช้ออนโทโลยีเป็นฐาน
Other Titles: The model development for searching herb usage based on ontology
Authors: ภัทธิรา สุวรรณโค
Advisor: ศุภกฤษฏิ์ นิวัฒนากูล
Keywords: สืบค้นการใช้สมุนไพร;ออนโทโลยี;ดัชนีเชิงความหมาย
Issue Date: 2566
Publisher: สำนักวิชาศาสตร์และศิลป์ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาแบบจำลองสำหรับสืบค้นการใช้สมุนไพรโดยใช้ออนโทโลยีเป็นฐาน และ 2) ประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลอง ผู้วิจัยได้พัฒนาคลังคำโดยใช้แนวทางการจัดทำดัชนีเชิงความหมายโดยนำเอาภาษาเอสเคโอเอส (SKOS) มาประยุกต์ใช้ ซึ่งคลังคำที่พัฒนาขึ้นจำแนกตามหมวดหมู่ได้ 11 คอลเล็คชัน ประกอบด้วย 628 คอนเซ็ปต์ การออกแบบออนโทโลยีตามแนวทางกระบวนการวิศวกรรมออนโทโลยี ประกอบด้วยคลาสหลักจำนวน 3 คลาส และคลาสย่อยจำนวน 125 คลาส มีการออกแบบออนโทโลยี โดยสร้างคุณสมบัติของข้อมูล (Datatype properties) จำนวน 98 คุณสมบัติ คุณสมบัติของวัตถุ (Object properties) จำนวน 45 คุณสมบัติ สำหรับจัดเก็บรายการความรู้ เชื่อมโยงรายการความรู้ภายในฐานความรู้ และเชื่อมโยงรายการความรู้กับคำสำคัญในคลังคำ ใช้ภาษาเอสดับบิวอาร์แอล (SWRL) สำหรับการสร้างกฎเพื่อเพิ่มเติมความรู้ในฐานความรู้ สร้างคำสั่งสำหรับการค้นหาด้วยภาษาสปาร์เคิล (SPARQL) ผลการประเมินแบบจำลองโดยการทดลองการค้นหา 100 ชุดคำค้น แบ่งเป็นการค้นหาด้วยชื่อสมุนไพร ชื่ออาการ และคุณลักษณะเฉพาะของผู้ป่วย ประกอบด้วยการค้นด้วยคำสำคัญแบบ 1 คำค้น แบบ 2 คำค้น และมากกว่า 2 คำค้น เพื่อแสดงคำแนะนำในการใช้สมุนไพรได้แก่ อาการที่เจ็บป่วย ชื่อสามัญและชื่อท้องถิ่นของสมุนไพร ส่วนที่ใช้ วิธีการใช้ และข้อควรระวังสำหรับแต่ละบุคคล โดยมีค่าความแม่นยำ (Precision) เท่ากับ 100 และค่าความระลึก (Recall) เท่ากับ 93.68 ส่งผลให้ค่าประสิทธิภาพโดยรวม (F-measure) เท่ากับ 96.74
URI: http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/10079
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdfบทคัดย่อ645.26 kBAdobe PDFView/Open
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.